พันธุ์น้อยหน่า
ชื่อสามัญ : Sugar Apple
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona squamosa L.
ชื่อวงศ์ : Annonaceae
ชื่ออื่นๆ : น้อยแน่ มะนอแน่ หมักเขียบ ลาหนัง มะแน่ หน่อเกล๊ะแซ มะออจ้า มะโอจ่า เตียบ
น้อยหน่า เป็นพืชยืนต้นในเขตอบอุ่นและเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ส่วนในประเทศไทยจะปลูกกันมากในทางภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
น้อยหน่า เป็นไม้ยืนต้น ที่มีความสูงประมาณ 3-5 เมตร ใบออกเป็นใบเดี่ยว รูปหอกแกมขอบขนาน ออกเรียงสลับกัน มีขนาดความกว้างของใบประมาณ 3-6 ซม. ยาวประมาณ 7-13 ซม. มีดอกสีเหลืองอมเขียว ออกตามซอกใบและห้อยลงมาแบบเดี่ยวๆ มีกลีบดอกที่หนาและอวบน้ำจำนวน 6 กลีบ โดยเรียงซ้อนกันอยู่ 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ เกสรตัวผู้และรังไข่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ผลมีรูปร่างค่อนข้างกลม เป็นแบบผลกลุ่ม
น้อยหน่า เป็นไม้ยืนต้น ที่มีความสูงประมาณ 3-5 เมตร ใบออกเป็นใบเดี่ยว รูปหอกแกมขอบขนาน ออกเรียงสลับกัน มีขนาดความกว้างของใบประมาณ 3-6 ซม. ยาวประมาณ 7-13 ซม. มีดอกสีเหลืองอมเขียว ออกตามซอกใบและห้อยลงมาแบบเดี่ยวๆ มีกลีบดอกที่หนาและอวบน้ำจำนวน 6 กลีบ โดยเรียงซ้อนกันอยู่ 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ เกสรตัวผู้และรังไข่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ผลมีรูปร่างค่อนข้างกลม เป็นแบบผลกลุ่ม
การใช้ประโยชน์
ใบสดและเมล็ด-ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ใช้พอกฆ่าเหา รักษากลากเกลื้อน หิด แก้อาการฟกบวม ใช้ขับพยาธิลำไส้ ในใบและเมล็ดของน้อยหน่าจะมีสารแอลคาลอยด์ ที่มีความเป็นพิษต่อด้วงปีกแข็ง เพลี้ยอ่อนแมลงวัน มวนปีกแข็ง ไรทะเล สามารถใช้กำจัดศัตรูของพืชและสัตว์น้ำได้
ใบสดและเมล็ด-ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ใช้พอกฆ่าเหา รักษากลากเกลื้อน หิด แก้อาการฟกบวม ใช้ขับพยาธิลำไส้ ในใบและเมล็ดของน้อยหน่าจะมีสารแอลคาลอยด์ ที่มีความเป็นพิษต่อด้วงปีกแข็ง เพลี้ยอ่อนแมลงวัน มวนปีกแข็ง ไรทะเล สามารถใช้กำจัดศัตรูของพืชและสัตว์น้ำได้
ราก-ใช้เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน และแก้พิษงู ถอนพิษเบื่อเมา
เปลือกต้น-ใช้เป็นยาสมานลำไส้ สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้พิษงู แก้รำมะนาด
ผล-ผลดิบ จะเป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในคอ กลาก เกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง ส่วนผลแห้งใช้แก้โรคงูสวัด เริม แก้ฝีในหู และผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้
น้อยหน่าและน้อยหน่าลูกผสม เป็นผลไม้ที่มีรสชาติหวานอร่อย เป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วไป แหล่งปลูกที่มีชื่อเสียงของไทยจะอยู่ในอ.ปากช่อง จ. นครราชสีมา ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกน้อยหน่าพันธุ์หนังและพันธุ์ฝ้าย
ในปัจจุบันประเทศไทยมีสายพันธุ์น้อยหน่าและน้อยหน่าลูกผสมอยู่มากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยแยกสายพันธุ์ตามลักษณะของผลทั้งภายในและภายนอก ทั้งส่วนที่เป็นสีผิว สีผล และสีของใบ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
กลุ่มที่ 1. น้อยหน่าฝ้าย เป็นน้อยหน่าพื้นเมือง
ซึ่งแยกย่อยออกได้อีก 2 สายพันธุ์ คือ
1.) น้อยหน่าฝ้ายเขียว มีผลสีเขียว
มีเนื้อสีขาวยุ่ย หยาบเป็นทราย ไม่จับตัวเป็นก้อน มีกลิ่นหอม รสหวาน
เนื้อไม่ล่อนออกจากเปลือกเมื่อสุก เละง่าย
2.) น้อยหน่าฝ้ายครั่ง มีผลสีม่วงเข้ม
มีเนื้อสีขาวอมชมพู ส่วนลักษณะอื่นๆ จะเหมือนกับพันธุ์ฝ้ายเขียว
ซึ่งแยกย่อยออกได้อีก 2 สายพันธุ์ คือ
1.) น้อยหน่าฝ้ายเขียว มีผลสีเขียว
มีเนื้อสีขาวยุ่ย หยาบเป็นทราย ไม่จับตัวเป็นก้อน มีกลิ่นหอม รสหวาน
เนื้อไม่ล่อนออกจากเปลือกเมื่อสุก เละง่าย
2.) น้อยหน่าฝ้ายครั่ง มีผลสีม่วงเข้ม
มีเนื้อสีขาวอมชมพู ส่วนลักษณะอื่นๆ จะเหมือนกับพันธุ์ฝ้ายเขียว
2. น้อยหน่าหนังหรือน้อยหน่าญวน
แบ่งย่อยออกได้อีก 3 สายพันธุ์ คือ
-น้อยหน่าหนังเขียว มีผลสีเขียว มีเนื้อผลสีขาว เหนียวละเอียด และมาก
-น้อยหน่าหนังทอง มีผลสีเหลืองทอง ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์เมื่อเพาะด้วยเมล็ด มีเนื้อสีขาวอมเหลือง
-น้อยหน่าหนังครั่ง มีผลสีม่วงเข้ม เกิดจากการกลายพันธุ์จากเมล็ดเช่นเดียวกัน มีเนื้อผลสีขาวอมชมพู
ทั้ง 3 สายพันธุ์ เมื่อผลสุกจะมีกลิ่นหอม รสหวาน เปลือกสามารถหลุดล่อนออกจากเนื้อได้
แบ่งย่อยออกได้อีก 3 สายพันธุ์ คือ
-น้อยหน่าหนังเขียว มีผลสีเขียว มีเนื้อผลสีขาว เหนียวละเอียด และมาก
-น้อยหน่าหนังทอง มีผลสีเหลืองทอง ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์เมื่อเพาะด้วยเมล็ด มีเนื้อสีขาวอมเหลือง
-น้อยหน่าหนังครั่ง มีผลสีม่วงเข้ม เกิดจากการกลายพันธุ์จากเมล็ดเช่นเดียวกัน มีเนื้อผลสีขาวอมชมพู
ทั้ง 3 สายพันธุ์ เมื่อผลสุกจะมีกลิ่นหอม รสหวาน เปลือกสามารถหลุดล่อนออกจากเนื้อได้
3. น้อยหน่าลูกผสม
ที่มีชื่อสามัญว่า อะติมัวย่า (atemoya) เป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่างพันธุ์ A. squamosa Linn.
กับ เชริมัวย่า (A. cherimola Mill.)
ที่มีชื่อสามัญว่า อะติมัวย่า (atemoya) เป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่างพันธุ์ A. squamosa Linn.
กับ เชริมัวย่า (A. cherimola Mill.)
4. น้อยหน่าพันธุ์ลูกผสมอื่นๆ เกิดจากการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ
และมีลักษณะต่างๆ แตกต่างกันออกไป ไม่สามารถระบุชื่อพ่อแม่พันธุ์ได้
และมีลักษณะต่างๆ แตกต่างกันออกไป ไม่สามารถระบุชื่อพ่อแม่พันธุ์ได้
แนวทางการผลิตน้อยหน่าและน้อยหน่าลูกผสมตามระบบเกษตรที่เหมาะสม จะช่วยให้ได้รับผลผลิตที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งมีหลักพิจารณาดังต่อไปนี้
แหล่งที่ใช้ปลูก
สภาพพื้นที่ในการปลูกต้องอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร มีปริมาณน้ำฝนในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 800-1,300 มิลลิเมตร มีอุณหภูมิในสภาพแวดล้อมประมาณ 10-40 องศาเซลเซียส มีแสงแดดจัดๆ ส่องได้ทั่วถึง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพของดินร่วนปนทราย หรือเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง สามารถระบายน้ำได้ดีไม่มีน้ำท่วมขัง มีหน้าดินลึกลงไปประมาณ 40 ซม. มีค่า pH ของดิน ประมาณ 5.5-7.4 เป็นพื้นที่ที่ปราศจากโรคและสารตกค้าง มีแหล่งน้ำอย่างเพียงพอตลอดฤดูกาลปลูก
สภาพพื้นที่ในการปลูกต้องอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร มีปริมาณน้ำฝนในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 800-1,300 มิลลิเมตร มีอุณหภูมิในสภาพแวดล้อมประมาณ 10-40 องศาเซลเซียส มีแสงแดดจัดๆ ส่องได้ทั่วถึง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพของดินร่วนปนทราย หรือเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง สามารถระบายน้ำได้ดีไม่มีน้ำท่วมขัง มีหน้าดินลึกลงไปประมาณ 40 ซม. มีค่า pH ของดิน ประมาณ 5.5-7.4 เป็นพื้นที่ที่ปราศจากโรคและสารตกค้าง มีแหล่งน้ำอย่างเพียงพอตลอดฤดูกาลปลูก
การคัดเลือกสายพันธุ์
เลือกปลูกพันธุ์ที่ตรงกับความต้องการของตลาด และสามารถเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศในพื้นที่นั้นๆ ควรเลือกกิ่งพันธุ์ที่มีอายุประมาณ 6-12 เดือน มีความสมบูรณ์ และแข็งแรงดี เพื่อลดความเสี่ยงจากการกลายพันธุ์
เลือกปลูกพันธุ์ที่ตรงกับความต้องการของตลาด และสามารถเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศในพื้นที่นั้นๆ ควรเลือกกิ่งพันธุ์ที่มีอายุประมาณ 6-12 เดือน มีความสมบูรณ์ และแข็งแรงดี เพื่อลดความเสี่ยงจากการกลายพันธุ์
การปลูก
หลังจากวิเคราะห์และปรับค่าของดินจนเหมาะสมแก่การเพาะปลูกแล้ว ก็ให้ทำการไถพรวนตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ ต้นน้อยหน่าจะเจริญเติบโตและสามารถตั้งตัวได้ดีหากปลูกในช่วงต้นฤดูฝน นำกิ่งพันธุ์ปลูกลงในหลุมในลักษณะตั้งตรง โดยใช้ระยะปลูกที่ 4×4 เมตร เร่งการแตกพุ่มใหม่และลดการคายน้ำด้วยการตัดยอดจากกิ่งพันธุ์ออกเล็กน้อย ปักไม้ค้ำยันข้างหลุมปลูก คลุมหน้าดินบริเวณหลุมปลูกด้วยฟาง หญ้าแห้ง หรือแกลบ ตามด้วยรดน้ำให้ชุ่ม ในพื้นที่ 1 ไร่ จะสามารถปลูกต้นน้อยหน่าได้ประมาณ 100 ต้น
หลังจากวิเคราะห์และปรับค่าของดินจนเหมาะสมแก่การเพาะปลูกแล้ว ก็ให้ทำการไถพรวนตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ ต้นน้อยหน่าจะเจริญเติบโตและสามารถตั้งตัวได้ดีหากปลูกในช่วงต้นฤดูฝน นำกิ่งพันธุ์ปลูกลงในหลุมในลักษณะตั้งตรง โดยใช้ระยะปลูกที่ 4×4 เมตร เร่งการแตกพุ่มใหม่และลดการคายน้ำด้วยการตัดยอดจากกิ่งพันธุ์ออกเล็กน้อย ปักไม้ค้ำยันข้างหลุมปลูก คลุมหน้าดินบริเวณหลุมปลูกด้วยฟาง หญ้าแห้ง หรือแกลบ ตามด้วยรดน้ำให้ชุ่ม ในพื้นที่ 1 ไร่ จะสามารถปลูกต้นน้อยหน่าได้ประมาณ 100 ต้น
การดูแลรักษา
การผสมเกสรจะสามารถติดผลผลิตได้สูง และการเจริญเติบโตของผลจะเร็วกว่าปกติ ทำให้เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น หากรักษาความชื้นในดินให้สม่ำเสมอประมาณ 70-80 % ควรให้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีควบคู่กันไป ในแต่ละกิ่งควรเด็ดผลให้เหลือไว้เพียง 1-2 ผล ห่อผลเพื่อป้องกันแมลงวันทองก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือนเป็นอย่างน้อย หากปล่อยให้มีการผสมเกสรเองตามธรรมชาติ มักทำให้ขนาดและปริมาณของผลไม่มีคุณภาพ
การผสมเกสรจะสามารถติดผลผลิตได้สูง และการเจริญเติบโตของผลจะเร็วกว่าปกติ ทำให้เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น หากรักษาความชื้นในดินให้สม่ำเสมอประมาณ 70-80 % ควรให้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีควบคู่กันไป ในแต่ละกิ่งควรเด็ดผลให้เหลือไว้เพียง 1-2 ผล ห่อผลเพื่อป้องกันแมลงวันทองก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือนเป็นอย่างน้อย หากปล่อยให้มีการผสมเกสรเองตามธรรมชาติ มักทำให้ขนาดและปริมาณของผลไม่มีคุณภาพ
ควรมีการตัดแต่งกิ่ง รักษาความสะอาดพื้นที่ปลูก และกำจัดวัชพืชอยู่เสมอ เพื่อให้สะดวกต่อการดูแลรักษาและเก็บเกี่ยว และช่วยลดการสะสมของโรคและแมลงศัตรูพืช ควรเก็บอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ปุ๋ยเคมี และสารกำจัดศัตรูพืชในที่เหมาะสมและปลอดภัย เมื่อเกิดการชำรุดเสียหายควรซ่อมให้เป็นปกติก่อนนำไปใช้งาน ล้างทำความสะอาดหลังจากใช้งานแล้วทุกครั้ง และมีการทำลายภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี
การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
ควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากน้อยหน่ามักมีแมลงที่เป็นศัตรูสำคัญได้แก่ แมลงวันผลไม้ หนอนเจาะกิ่ง ด้วงกินใบ แมลงค่อมทอง ด้วงทำลายดอก หนอนผีเสื้อเจาะผล และเพลี้ยแป้ง โดยเฉพาะในช่วงผลแก่ใกล้สุกมักพบการระบาดของแมลงวันทอง หากเกิดปัญหาดังกล่าว ควรใช้วิธีป้องกันและกำจัดเสียตั้งแต่เริ่มแรกด้วยสมุนไพรตามธรรมชาติ หากมีการใช้สารเคมีกำจัดควรเก็บผลผลิตหลังจากทำการฉีดพ่นไม่ต่ำกว่า 1 เดือน
ควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากน้อยหน่ามักมีแมลงที่เป็นศัตรูสำคัญได้แก่ แมลงวันผลไม้ หนอนเจาะกิ่ง ด้วงกินใบ แมลงค่อมทอง ด้วงทำลายดอก หนอนผีเสื้อเจาะผล และเพลี้ยแป้ง โดยเฉพาะในช่วงผลแก่ใกล้สุกมักพบการระบาดของแมลงวันทอง หากเกิดปัญหาดังกล่าว ควรใช้วิธีป้องกันและกำจัดเสียตั้งแต่เริ่มแรกด้วยสมุนไพรตามธรรมชาติ หากมีการใช้สารเคมีกำจัดควรเก็บผลผลิตหลังจากทำการฉีดพ่นไม่ต่ำกว่า 1 เดือน
ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้แสงแดดส่องได้อย่างทั่วถึง มีลมโกรกผ่านสามารถระบายอากาศได้ดี เป็นการป้องกันโรคสำคัญที่มักจะเกิดขึ้นกับต้นน้อยหน่า เช่น โรคกิ่งแห้ง โรคมัมมี่ โรครากเน่า โรคผลเน่าดำ และโรคแอนแทรคโนส ควรใช้ยาเคมีฉีดพ่นหากพบการระบาด และปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง
การเก็บเกี่ยว
หลังจากปลูกไปได้ประมาณ 120 วัน น้อยหน่าก็จะมีผลผลิตที่อยู่ในระยะให้ทำการเก็บเกี่ยวได้แล้ว ควรใช้มีดหรือกรรไกรที่คมและสะอาดตัดตรงขั้วผลในระดับของไหล่ผล ใส่ในภาชนะที่สะอาด นำไปวางในที่ร่ม แล้วทำการคัดแยกขนาดตามความต้องการของตลาดต่อไป การเก็บน้อยหน่าไว้ในอุณหภูมิ 15-20 องศาเซลเซียส จะทำให้น้อยหน่าสดใหม่อยู่ได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากเก็บเกี่ยวควรส่งให้ถึงมือผู้บริโภคโดยเร็วที่สุด
หลังจากปลูกไปได้ประมาณ 120 วัน น้อยหน่าก็จะมีผลผลิตที่อยู่ในระยะให้ทำการเก็บเกี่ยวได้แล้ว ควรใช้มีดหรือกรรไกรที่คมและสะอาดตัดตรงขั้วผลในระดับของไหล่ผล ใส่ในภาชนะที่สะอาด นำไปวางในที่ร่ม แล้วทำการคัดแยกขนาดตามความต้องการของตลาดต่อไป การเก็บน้อยหน่าไว้ในอุณหภูมิ 15-20 องศาเซลเซียส จะทำให้น้อยหน่าสดใหม่อยู่ได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากเก็บเกี่ยวควรส่งให้ถึงมือผู้บริโภคโดยเร็วที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น