{ข้อมูลสมุนไพรน่ารู้} Good info: herbs!

ต้นผักแพว(ผักไผ่)


ผักแพว

ผักแพว ชื่อสามัญ Vietnamese coriander
ผักแพว ชื่อวิทยาศาสตร์ Polygonum odoratum Lour. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Persicaria odorata (Lour.) Soják) จัดอยู่ในวงศ์ผักไผ่ (POLYGONACEAE)[10]
สมุนไพรผักแพว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พริกม้า พริกม่า (นครราชสีมา), หอมจันทร์ (อยุธยา), ผักไผ่ (ภาคเหนือ), ผักแพว (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), จันทน์โฉม, จันทน์แดง, ผักไผ่น้ำ, ผักแพ้ว, ผักแพรว, ผักแจว, พริกบ้า, หอมจันทร์ เป็นต้น[2],[3],[10]

ลักษณะของผักแพว

  • ต้นผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะ ๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ


ใบผักแพว มีใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหรือรูปหอกแกมรูปไข่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5.5-8 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมคล้ายใบไผ่แต่บางกว่า ขอบใบเรียบ ฐานใบเป็นรูปลิ่ม ก้านใบสั้นมีหู ใบลักษณะคล้ายปลอกหุ้มรอบลำต้นอยู่บริเวณเหนือข้อของลำต้น

  • ดอกผักแพว ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกมีดอกย่อยขนาดเล็กสีขาวนวลหรือชมพูม่วง

สรรพคุณของผักแพว

  1. ผักแพวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย และช่วยในการชะลอวัย (ใบ)[2]
  2. ช่วยป้องกันและต่อต้านมะเร็ง (ใบ)[2]
  3. ช่วยป้องกันโรคหัวใจ (ใบ)[2]
  4. ใบใช้รับประทานช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ)[2]
  5. ช่วยบำรุงประสาท (ราก)[9]
  1. รสเผ็ดของผักแพวช่วยทำให้เลือดลมในร่างกายเดินสะดวกมากขึ้น (ใบ)[5]
  2. ช่วยรักษาโรคหวัด (ใบ)[6]
  3. ช่วยขับเหงื่อ (ดอก)[7],[8],[9]
  4. ช่วยรักษาโรคปอด (ดอก)[7],[9]
  5. ช่วยรักษาหอบหืด (ราก)[9]
  6. ช่วยแก้อาการไอ (ราก)[9]
  7. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะเป็นผักที่มีไฟเบอร์สูงถึง 9.7 กรัม ซึ่งจัดอยู่ในผักที่มีเส้นใยอาหารมากที่สุด 10 อันดับของผักพื้นบ้านไทย (ใบ)[4],[7],[8]
  8. ผักแพวมีรสเผ็ดร้อน จึงช่วยแก้ลม ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ (ใบ, ยอดผักแพว)[2],[3],[6],[9] ใช้เป็นยาขับลมขึ้นเบื้องบน ช่วยให้เรอระบายลมออกมาเวลาท้องขึ้น ท้องเฟ้อ (ใบ, ดอก, ต้นราก)[8]
  9. รากผักแพวช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร (ราก)[7] แก้กระเพาะอาหารพิการหรือกระเพาะอักเสบ (ใบ, ดอก, ต้นราก)[8],[9]
  10. ช่วยแก้ท้องเสีย อุจจาระพิการ (ใบ, ดอก, ต้นราก)[8]
  11. ช่วยแก้อาการเจ็บท้อง (ใบ, ดอก, ต้นราก)[8]
  12. ช่วยแก้อาการท้องรุ้งพุงมาน (ใบ, ดอก, ต้นราก)[8]
  13. ใบผักแพวช่วยรักษาโรคพยาธิตัวจี๊ด แต่ต้องรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน[6]
  14. ลำต้นผักแพวใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)[9]
  15. ราก ต้น ใบ และดอก นำมาปรุงเป็นยาได้ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร (ใบ, ดอก, ต้น, ราก)[8]
  16. ช่วยรักษาโรคตับแข็ง (ใบ)[6]
  17. ช่วยลดอาการอักเสบ (ใบ)[2]
  18. ใบผักแพวใช้แก้ตุ่มคัน ผดผื่นคันจากเชื้อรา เป็นกลากเกลื้อน[6] ด้วยการใช้ใบหรือทั้งต้นนำมาคั้นหรือตำผสมกับเหล้าขาว แล้วใช้เป็นยาทา (ใบ, ทั้งต้น)[7]
  19. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ราก)[9]
  20. ช่วยรักษาอาการปวดข้อ ปวดกระดูก (ราก)[7],[9]
  21. ช่วยแก้เส้นประสาทพิการ แก้เหน็บชาตามปลายนิ้วมือ ปลายเท้า และอาการมือสั่น (ใบ, ดอก, ต้นราก)[8]
  22. ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงเลือดลมของสตรี (ใบ, ดอก, ต้นราก)[8]
ข้อควรรู้ ! : ผักแพวหลัก ๆ แล้วจะมีอยู่สองชนิดที่ต่างกันแค่สีต้น คือ ผักแพวแดงและผักแพวขาว เป็นสมุนไพรคู่แฝดที่นำมาประกอบเป็นจุลพิกัดหรือใช้คู่กันเป็นยาสมุนไพรจะมีฤทธิ์ยาแรงขึ้น และมีประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้นด้วย[8]

ประโยชน์ของผักแพว

  1. รสเผ็ดของผักแพวช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันในเลือด เหมาะเป็นผักสมุนไพรลดความอ้วนได้โดยไม่ขาดสารอาหาร เพราะอุดมไปด้วยเส้นใยและวิตามิน แต่ต้องรับประทานในปริมาณที่มากพอหรือวันละไม่น้อยกว่า 3 ขีด[8]
  2. ผักแพวมีวิตามินเอสูง จึงช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้เป็นอย่างดี โดยมีวิตามินเอสูงถึง 8,112 หน่วยสากล[1],[3] ในขณะที่อีกข้อมูลระบุว่ามีมากถึง 13,750 มิลลิกรัม[5]
  3. ผักแพวเป็นผักที่ติดอันดับ 8 ของผักที่มีวิตามินซีสูงสุด โดยมีวิตามินซี 115 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม[4]
  4. ผักแพวมีแคลเซียมสูงถึง 390 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม จึงช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงได้เป็นอย่างดี[4]
  5. ผักแพวมีธาตุเหล็กสูงสุดติด 1 ใน 5 อันดับของผักที่มีธาตุเหล็กสูง[4]
  6. ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้ประกอบอาหาร ใช้รับประทานเป็นผักสด หรือใช้แกล้มกับอาหารที่มีรสจัด ใช้เป็นเครื่องเคียงของอาหารอีสาน อาหารเหนือ อาหารเวียดนาม หรือนำมาหั่นเป็นฝอย ใช้คลุกเป็นเครื่องปรุงสดประกอบอาหารประเภทลาบ ลู่ ตำซั่ว ก้อยกุ้งสด ข้าวยำ แกงส้ม เป็นต้น[2]
  7. ใบผักแพวนำมาใช้แกงประเภทปลา เพื่อช่วยดับกลิ่นของเนื้อสัตว์หรือกลิ่นคาวปลาได้[2]

คุณค่าทางโภชนาการของผักแพว ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 54 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 7.7 กรัม
  • เส้นใยอาหาร 1.9 กรัมดอกผักแพว
  • ไขมัน 0.5 กรัม
  • โปรตีน 4.7 กรัม
  • น้ำ 83.4%
  • วิตามินเอ 8,112 หน่วยสากล
  • วิตามินบี 1 0.05 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2 0.59 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 3 1.7 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 77 มิลลิกรัม
  • ธาตุแคลเซียม 79 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม
  • ธาตุฟอสฟอรัส 272 มิลลิกรัม
ข้อมูลจาก : กองโภชนาการ กรมอนามัย (ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย)[1]

2. ต้นชะพลู


ชะพลู

ชะพลู ชื่อสามัญ Wildbetal leafbush
ชะพลู ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper sarmentosum Roxb. จัดอยู่ในวงศ์พริกไทย (PIPERACEAE)
สมุนไพรชะพลู มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักพลูนก พลูลิง ปูลิง ปูลิงนก ผักปูนา (ภาคเหนือ), ผักแค ผักอีเลิด ผักนางเลิด (ภาคอีสาน), ช้าพลู (ภาคกลาง), นมวา (ภาคใต้) เป็นต้น
ชะพลู มักมีการจำสับสนกับพลูทั้งที่เป็นคนละชนิดกัน ซึ่งใบจะรสไม่จัดเท่ากับพลูและยังมีขนาดเล็กกว่า สำหรับสรรพคุณของชะพลูที่สำคัญนั้นก็ได้แก่ ช่วยบำรุงธาตุ ขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยในการขับเสมหะ เป็นต้น และประโยชน์ของชะพลูในด้านของสุขภาพนั้นก็คือ มีวิตามินเอและธาตุแคลเซียมในปริมาณสูงเป็นพิเศษ และยังมีธาตุเหล็ก ธาตุฟอสฟอรัส คลอโรฟิลล์ เส้นใยอีกด้วย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายแทบทั้งสิ้น
ใบชะพลู หากรับประทานในปริมาณมากหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน แคลเซียมที่มีอยู่ในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลต (Oxalate) ซึ่งสารชนิดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ ดังนั้นคุณจึงควรดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อให้สารออกซาเลตเจือจางลงและถูกขับออกทางปัสสาวะ หรือจะเลือกรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ๆ เพื่อป้องกันโรคนิ่วก็ทำได้เหมือนกัน เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์อย่างสูงสุดคุณควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

ประโยชน์ของใบชะพลู

  1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ (ใบ)
  2. ใบชะพลูมีรสเผ็ดร้อน ช่วยทำให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้น (ใบ)
  3. ใบชะพลูมีเบต้าแคโรทีนในปริมาณมากซึ่งช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยในการมองเห็น ป้องกันโรคตาบอดตอนกลางคืน แก้โรคตาฟาง เป็นต้น (ใบ)
  4. ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง (ใบ)
  5. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ชะพลูสดทั้งต้นประมาณ 7 ต้น นำมาล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้ำพอท่วมแล้วต้มให้เดือดสักพัก แล้วนำมาดื่มเป็นชา (ทั้งต้น)
  6. ช่วยบำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ (ราก)
  7. ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน (ใบ)
  8. ช่วยทำให้เสมหะงวดและแห้ง (ดอก, ราก)
  9. ช่วยในการขับเสมหะบริเวณทรวงอก ลำคอ (ใบ, ราก, ต้น)
  10. ช่วยในการขับเสมหะทางอุจจาระ (ราก)
  11. ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากมีเส้นใยในปริมาณมาก (ใบ)
  12. ช่วยแก้อาการบิด ด้วยการใช้รากประมาณครึ่งกำมือ ใช้ผลประมาณ 3 หยิบมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ราก)
  13. ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการใช้รากประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 3 ใน 4 ถ้วยแก้วแล้วรับประทานครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ราก, ทั้งต้น)
  14. ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้รากประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 3 ใน 4 ถ้วยแก้วแล้วรับประทานครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ดอก,ราก)
  15. รากชะพลูเป็นหนึ่งในส่วนผสมของตำรับสมุนไพรพิกัดยาตรีสาร ซึ่งช่วยบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต แก้คูถเสมหะ
  16. เมนูใบชะพลู ได้แก่ แกงคั่วไก่ใบชะพลู แกงคั่วหอยขมใบชะพลู หมูห่อใบชะพลู ไข่น้ำใบชะพลู ยำตะไคร้ใบชะพลู เมี่ยงปลาเผาใบชะพลู ผัดป่าใบชะพลู แกงอ่อมใบชะพลู ยำปลาทูใบชะพลู เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, www.rspg.or.th สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


3. ต้นพริกชี้ฟ้า (พริกเดือยไก่)

พริกชี้ฟ้า หรือ พริกเดือยไก่

พริกชี้ฟ้า ชื่อสามัญ Chili spur pepper[1], Capsiums, Chillics, Green pepper, Paprika Tabasco pepper, Cayenne pepper[2], Chili, Thai dragon Chile, Spur pepper, Long cayenne pepper[4]
พริกชี้ฟ้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum annuum L. (Capsicum annuum var. acuminatum Fingerh.) จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)[1],[2]
สมุนไพรพริกชี้ฟ้า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พริกเดือยไก่ พริกหนุ่ม พริกหลวง (ภาคเหนือ), พริกแล้ง (เชียงใหม่), พริกมัน พริกเหลือง (กรุงเทพฯ) เป็นต้น[1]

ลักษณะของพริกชี้ฟ้า

  • ต้นพริกชี้ฟ้า มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์เพื่อเก็บผลขายในประเทศไทยแต่โบราณแล้ว โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุประมาณ 1-3 ปี มีความสูงได้ประมาณ 0.3-1.2 เมตร ลำต้นเปราะหักง่าย แตกกิ่งก้านหนาแน่นเป็นพุ่ม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ปลูกกลางแจ้งจะดีเพราะน้ำไม่ท่วม เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำดี หรือปลูกบนดินรังปลวกก็จะมีอายุอยู่ได้นาน พบได้ทุกภาคในประเทศไทย แต่พบได้มากทางภาคเหนือและกรุงเทพฯ[1],[2],[3]

  • ใบพริกชี้ฟ้า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับหรือออกตรงข้ามกัน บางพันธุ์ก็ออกเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจเรียว รูปวงรี รูปใบหอก หรือเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรือเว้าเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อใบนิ่ม หลังใบและท้องใบเรียบ[1],[2],[3]
  • ดอกพริกชี้ฟ้า ออกดอกเป็นช่อหรือออกดอกเดี่ยวชี้ขึ้น โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกเป็นสีขาวหรือสีขาวอมเขียว มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ส่วนกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันปลายตัดหรือเป็นหยัก 5 หยัก ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี[1],[2],[3]
  • ผลพริกชี้ฟ้า ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมยาว ปลายผลแหลม ผลอ่อนเป็นสีเขียวแก่ เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มและสีแดง ผิวผลเป็นมัน ปลายผลชี้ตั้งขึ้น ผลมีรสเผ็ดร้อนพอประมาณ ส่วนเมล็ดมีลักษณะแบนเรียบ สีเหลืองหรือสีขาวนวล และมีจำนวนมาก สามารถติดผลได้ตลอดปี[1],[2]

สรรพคุณของพริกชี้ฟ้า

  1. พริกมีสรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุในร่างกาย (ผล, เมล็ด)[1],[2],[4]
  2. ช่วยแก้กระษัย (เมล็ด)[1]
  3. สารแคปไซซินที่มีอยู่ในพริกทุกชนิด จะมีสรรพคุณช่วยระบบหายใจ หัวใจ และความดัน (ผล)[4]
  4. พริกสามารถลดความดันโลหิตได้ เพราะทำให้เลือดอ่อนตัว และทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ด้วยดี (ผล)[2]
  5. ช่วยเร่งการย่อยสลาย ขับเหงื่อ และช่วยลดน้ำหนักได้ดี (ผล)[2],[4]
  6. ช่วยลดอาการหวัดคัดจมูก (ผล)[4]
  7. ช่วยแก้อาเจียน (ผล)[2]
  8. ช่วยขับเสมหะ (ผล)[2]
  9. พริกสามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร ทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น (ผล, ใบ)[2],[3]
  10. ช่วยแก้ลมจุกเสียด แก้อาการท้องขึ้นอืดเฟ้อ เรอเปรี้ยว แก้แน่น ลดกรดในกระเพาะ ช่วยขับผายลม และช่วยในการย่อยอาหาร (ผล, เมล็ด, ใบ)[1],[2],[3],[4]
  11. พริกมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ (ผล)[4]
  12. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (เมล็ด)[1] ต้นนำมาเผาให้เป็นถ่าน มีสรรพคุณใช้ขับปัสสาวะเช่นกัน (ต้น)[4]
  13. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (เมล็ด)[1]
  14. ช่วยแก้หิด กลาก เกลื้อน (ผล)[2]
  15. ช่วยยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้ (ผล)[4]
  16. ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก แก้อาการปวดตามข้อ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดตามบั้นเอว ฟกช้ำดำเขียว ช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และช่วยแก้ตะคริวได้ (ผล, เมล็ด)[1],[4]
  17. ต้นนำมาเผาให้เป็นถ่าน ใช้เป็นยาแก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อย (ต้น)[4] ส่วนเมล็ดก็มีสรรพคุณช่วยแก้เส้นเอ็นพิการได้เช่นกัน (เมล็ด)[1]
  18. หมายเหตุ : วิธีการใช้ตาม [2] ให้นำผลพริกมาปรุงเป็นอาหาร โดยรับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน[2] ห้ามถูกแผลเพราะจะทำให้ปวดแสบ[3]

    ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพริกชี้ฟ้า

    • สารสำคัญที่พบในบริเวณไส้ของผลพริก คือ “แคปไซซิน” (Capsaicin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้พริกมีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นฉุน โดยสารชนิดนี้สามารถยับยั้งการขนส่งน้ำตาลกลูโคสผ่านลำไส้ได้ จึงมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายลดลง ส่วนสารสำคัญที่ทำให้พริกมีสีส้มหรือสีแดง คือ แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งประกอบไปด้วยสารแคโรทีน (Carotene), แคปซันทิน (Capsanthin), แคปซารูบิน (Capsarubin), ลูทีโอลิน (Luteolin) ส่วนในเมล็ดพริกมีสารโซลานีน (Solanine) และโซลานิดีน (Solanidine) นอกจากนี้พริกยังมีสารอาหารอีกมากมาย เช่น ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส เป็นต้น[2]
    • เมื่อปี ค.ศ.1980 มีการทดลองพบว่า น้ำสกัดจากผลพริกสามารถลด fasting blood glucose แต่ขึ้นอยู่กับขนาดของยาที่ให้ และการให้สารสกัดทางปากสามารถลด intracardiac glucose tolerance curve เมื่อทำการแยกสาร Capsaicin มาทดลอง พบว่า สารนี้มีผลยับยั้งการขนส่งกลูโคสผ่านลำไส้ ซึ่งอาจเกิดจากการสลายกลูโคสเป็นกรดแลกติก หรือมีผลยับยั้งต่อ ATPase-dependent sodium pump[2]
    • เมื่อปี ค.ศ.1980 ได้มีการทดลองใช้สาร Capsaicin ในหนูที่เกิดใหม่กับหนูอายุ 3 เดือน ผลการทดลองพบว่า หนูเกิดใหม่มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง แต่ไม่ได้ผลในหนูอายุ 3 เดือน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหนูทนต่อยาได้มากขึ้นก็เป็นได้[2]

    ประโยชน์ของพริกชี้ฟ้า

    1. ผลอ่อนและผลแก่ใช้เครื่องประกอบอาหาร[3]
    2. ยอดอ่อนและใบอ่อนสามารถนำมาประกอบอาหารได้ เช่น แกงอ่อม แกงเลียง เป็นต้น[3]
    3. การรับประทานพริกเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและป้องกันการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดลมอักเสบได้ เนื่องจากพริกมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินเอ[2]
    4. พริกยังถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในขี้ผึ้งทาถูนวด เพื่อแก้อาการปวดเมื่อยบวมและลดอาการอักเสบ เพราะทำให้ผิวหนังบริเวณที่ทายามีเลือดมาเลี้ยงมากยิ่งขึ้น จึงช่วยแก้อาการเป็นตะคริวได้ด้วย[2],[4]
    5. นอกจากนี้พริกยังใช้เป็นส่วนผสมในยาธาตุ ยาแก้ปวดหลัง เนื่องจากสารสกัด Capsaicin จากพริกสามารถช่วยกระตุ้นการหลั่งของเอนไซม์บางชนิดได้ ซึ่งทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้เกิดการบีบตัวและคลายตัว[2],[4]

คุณค่าทางโภชนาการของพริกชี้ฟ้า 

  • พริกชี้ฟ้าเขียว 100 กรัม จะประกอบไปด้วย พลังงาน 129 แคลอรี, น้ำ 63.8%, โปรตีน 1.5 กรัม, ไขมัน 0.5 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 29.8 กรัม, ใยอาหาร 2.2 กรัม, เถ้า 2.2 กรัม, วิตามินเอ 1,917 หน่วยสากล, วิตามินบี1 0.07 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 0.1 มิลลิกรัม, วิตามินซี 204 มิลลิกรัม, แคลเซียม 103 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม[3]
  • พริกชี้ฟ้าแดง 100 กรัม จะประกอบไปด้วย พลังงาน 58 แคลอรี, น้ำ 84%, โปรตีน 2.8 กรัม, ไขมัน 2.3 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 6.6 กรัม, ใยอาหาร 3.5 กรัม, เถ้า 0.8 กรัม, วิตามินเอ 10,000 หน่วยสากล, วิตามินบี1 0.16 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.24 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 3.5 มิลลิกรัม, วิตามินซี 168 มิลลิกรัม, แคลเซียม 3 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.3 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม[3]


ข้อมูลจาก : กองโภชนาการ กรมอนามัย, ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม[3]


4. ตันกะเพราแดง/ม่วง (Red Basil)

กะเพราแดง สรรพคุณ ประโยชน์รักษากรดไหลย้อน

กะเพราแดง สรรพคุณ ตำรายาไทยระบุว่า “กระเพราะทั้ง 2” (กระเพราะขาว-กระเพราแดง) ใช้ทั้ง 5 ส่วน มีรสเผ็ดร้อน เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง ขับผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แต่ในทางยานิยมใช้กระเพราะแดงมากกว่ากระเพราะขาว เพราะมีฤทธิ์ทางยามากกว่า
กะเพรา เขียนอย่างไร? ระหว่าง กะเพรา หรือ กระเพรา หรือ กะเพา? ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นั้นที่ถูกต้องก็คือว่า กะเพรา [-เพรา] ที่เป็นไม้ล้มลุกใช้ปรุงเป็นอาหาร ส่วนคำว่า “กะเพา” จะหมายถึงเครื่องสานชนิดหนึ่ง และคำว่า “กระเพรา” ไม่พบในพจนานุกรมแต่อย่างใด สรุปก็คือ เขียนว่า “กะเพรา”
ชื่อเครื่อง ยากระเพราแดง
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก ใบ และยอด
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา กระเพราแดง
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) กอมก้อ กอมก้อขาว กอมก้อดำ กระเพราขน กระเพราะดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum Linn.
ชื่อพ้อง Ocimum tenuiflorum Linn.
ชื่อวงศ์ Labiatae
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา :
ใบและลำต้นมีสีเขียวอมม่วงแดง ใบทั้งสองด้านมีขนมากโดยเฉพาะส่วนยอด เนื้อใบบาง ใบรูปร่างรีหรือรีขอบขนาน กว้าง 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 2-4.5 เซนติเมตร ปลายใบและโคนใบอาจแหลมหรือมน ขอบใบค่อนข้างหยัก ใบและยอดรสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอม
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:ปริมาณน้ำไม่เกิน 14% v/w ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 2.0% w/w ปริมาณเถ้าซัล กะเพราแดง สรรพคุณ ตำรายาไทยระบุว่า “กระเพราะทั้ง 2” (กระเพราะขาว-กระเพราแดง) ใช้ทั้ง 5 ส่วน มีรสเผ็ดร้อน เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง ขับผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แต่ในทางยานิยมใช้กระเพราะแดงมากกว่ากระเพราะขาว เพราะมีฤทธิ์ทางยามากกว่า

ชื่อวงศ์ Lab เฟต ไม่เกิน 20.0% w/w ปริมาณสารสกัดเอทานอลไม่น้อยกว่า 5% w/w ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำ ไม่น้อยกว่า 20% w/w ปริมาณสารสกัดด้วยคลอโรฟอร์ม ไม่น้อยกว่า 5% w/w ปริมาณน้ำมันระเหยง่าย ไม่น้อยกว่า 1% v/w
สรรพคุณ:
  • ตำรายาไทย: ใช้ใบและยอดกระเพราะ ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ทำให้เรอ แก้ท้องร่วง แก้คลื่นไส้อาเจียน ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง แก้อาการปวดท้องในเด็กทารก ใช้ใบสดตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำนำมาผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์ แล้วใช้ทาบริเวณ รอบๆสะดือ และทาที่ฝ่าเท้าแก้อาการปวดท้องของเด็กได้ ใช้เป็นยาเพิ่มน้ำนมสตรีหลังคลอด ขับน้ำนม บรรเทาอาการไข้เรื้อรัง แก้ปวดฟัน

  • ตำรายาไทยระบุว่า “กระเพราะทั้ง 2” (กระเพราะขาว-กระเพราแดง) ใช้ทั้ง 5 ส่วน มีรสเผ็ดร้อน เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง ขับผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แต่ในทางยานิยมใช้กระเพราะแดงมากกว่ากระเพราะขาว เพราะมีฤทธิ์ทางยามากกว่า
    โบราณใช้น้ำคั้นใบกระเพรา กินเพื่อขับเหงื่อ แก้ไข้ ขับเสมหะ ขับลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ทาผิวหนังแก้กลากเกลื้อนและโรคผิวหนังอื่นๆ ใช้หยอดหู แก้อาการปวดหู ใบกระเพราะทำเป็นยาชง ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ และขับลมในเด็กอ่อน คนไทยสมัยก่อนนิยมกินแกงเลียงใบกะเพราหลังคลอดบุตร เพื่อขับลมและบำรุงธาตุให้เป็นปกติ
  • ยาพื้นบ้านของอินเดีย: ใช้น้ำคั้นจากใบกินขับเหงื่อ แก้ไข้ ขับเสมหะ ทาที่ผิวหนังแก้กลาก หยอดหูแก้ปวดหู ชงกินเป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม ในชวาใช้ใบปรุงอาหาร รับประทานเพื่อขับน้ำนม
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
1. ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม ปวดท้อง ใช้ใบสด 1 กำมือ (น้ำหนักสดประมาณ 25 กรัม หรือใบแห้ง 4 กรัม ต้มให้เดือด เอาแต่น้ำดื่ม หรือจะใช้ใบกระเพราะแห้ง ชงกับน้ำดื่มเป็นยาขับลม ถ้าป่นเป็นผงให้ชงกับน้ำรับประทาน ในเด็กอ่อนใช้ใบสด ใส่เกลือเล็กน้อยบดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งหยอดให้เด็กอ่อนเพิ่งคลอด 2-3 หยด เป็นเวลา 2-3 วัน จะช่วยขับลมและถ่ายขี้เทา
2. แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ) ใช้ใบและยอดสด 1 กำมือ (ประมาณ 25 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม
องค์ประกอบทางเคมี:
ใบมีน้ำมันระเหยง่าย 1.7% ประกอบด้วย methyl eugenol (37.7%), caryophylllene, methyl chavicol, linalool , ocimol, pinene, camphor, camphene, sabinene, limonene, cineol, borneol, terpinolene, terpinene, cymene สารกลุ่มอื่นๆ ที่พบเช่น apigenin, luteolin
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
น้ำมันระเหยง่ายมีฤทธิ์ต้านจุลชีพและฆ่าแมลง ฆ่ายุง ยับยั้งเชื้อวัณโรคในหลอดทดลอง สารสกัดใบด้วยอีเทอร์และแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ E.coli สารสกัดแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ปกป้องตับ คลายกล้ามเนื้อเรียบในหนู สารสกัดด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ ยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคกลาก สารสกัดแอลกอฮอล์รักษาแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากแอสไพรินในหนู การทดลองในสัตว์พบว่าน้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สาร eugenol ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน และลดอาการจุกเสียด
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดใบด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 35,714 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ
กะเพราแดง : Red Holy Basil
กะเพราแดง : Red Thai Holy basil
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum
อยู่ในวงค์ : Labiatae
กะเพราแดง (Ka-Pow-Dang) เป็นกะเพราชนิดหนึ่ง เป็นพืชสมุนไพร เป็นพืชล้มลุก มีทรงพุ่ม มีอายุหลายปี เจริญเติบโตได้ง่ายๆ ลำต้นมีลักษณะกลมๆ มีสีเขียวอมแดง โคนเนื้อแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะทรงรีเล็กๆ ขอบใบเป็นรอยหยักเล็กๆ ใบมีสีเขียวอมม่วงแดง หรือสีน้ำตาลอมแดง ใบด้านบนสีเข้มกว่าใบด้านล่าง มีก้านใบยาวรองรับ มีขนสีขาวเล็กๆปกคลุม ใบบอบบาง ช้ำง่ายและเหี่ยวง่าย รสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมแรง มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ตั้งขึ้นคล้ายฉัตร มีดอกย่อยอยู่ ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ดอกย่อย มีลักษณะเล็กๆ รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีสีขาวแกมม่วงแดง เมื่อผลแก่แห้งแล้วจะแตกออก ภายในจะมีเมล็ดอยู่มากมาย เมล็ดมีลักษณะทรงรีเล็กๆ มีสีดำ นำมาประกอบอาหารเมนูต่างๆ ได้หลายเมนู นิยมปลูกเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้าน กะเพราแดงจะมีกลิ่นแรงกว่ากะเพราขาว
  • ลำต้น เป็นพืชสมุนไพร เป็นพืชล้มลุก มีทรงพุ่ม ลำต้นเดี่ยว มีลักษณะกลมๆ โคนต้นสูงมีเนื้อแข็ง แตกกิ่งก้านสาขามาก มีขนปกคลุม มีสีเขียวอมแดง
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะทรงรีเล็กๆ ขอบใบเป็นรอยหยักเล็กๆ ใบมีสีเขียวอมม่วงแดง หรือสีน้ำตาลอมแดง ใบด้านบนสีเข้มกว่าใบด้านล่าง มีก้านใบยาวรองรับ มีขนสีขาวเล็กๆปกคลุม ใบบอบบาง ช้ำง่ายและเหี่ยวง่าย รสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมแรง มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว
  • ราก มีระบบรากแก้ว แทงลึกลงในดิน มีลักษณะกลมเล็กๆ มีรากแขนงรากฝอยเล็กๆ มีสีน้ำตาล มีกลิ่นเฉพาะตัว
  • ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ตั้งขึ้นคล้ายฉัตร มีดอกย่อยอยู่ ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ดอกย่อย มีลักษณะเล็กๆ รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีสีขาวแกมม่วงแดง
  • ผล มีลักษณะทรงไข่เล็กๆ ผลแก่แห้งจะแตกออก จะมีเมล็ดเล็กสีดำอยู่มากมาย
  • เมล็ด เมื่อผลแก่แห้งแล้วจะแตกออก ภายในจะมีเมล็ดอยู่มากมาย มีลักษณะทรงรีเล็กๆ มีสีดำ
มีวิตามินเอ มีโพแทสเซียม มีฟอสฟอรัส มีเบตาแคโรทีน มีวิตามินซี มีวิตามินบี1 มีวิตามินบี2 มีวิตามินบี3 มีวิตามินบี5 มีวิตามินบี6 มีวิตามินบี9 มีแคลเซียม มีเส้นใย มีโปรตีน มีคาร์โบไฮเดรต มีวิตามินเอ มีโซเดียม มีสังกะสี มีน้ำตาล มีไขมัน มีพลังงาน
แก้หวัด แก้ไข้สันนิบาต ช่วยรักษาไข้มาลาเรีย เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ท้องขึ้น แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ช่วยขับผายลม แก้ปวดท้อง ช่วยทำให้เรอ ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยรักษากลากเกลื้อน แก้ลมพิษ แก้พิษตานซาง แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับเสมหะ แก้ท้องร่วง ช่วยรักษาโรคธาตุพิการ ช่วยรักษาแผลในกระเพาะ ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยขับน้ำนม
วิธีทำน้ำกะเพรา
  1. นำกะเพรา 1 กำ (ทั้งลำต้นและใบ) ประมาณ 1 ขีด มาล้างให้สะอาดด้วยน้ำจุลินทรีย์ EM (แช่ 1 ช.ม.) หรือน้ำยาล้างผักเพื่อล้างยาฆ่าแมลงออก
  2. ใส่น้ำ 2 – 3 ลิตรลงในหม้อ นำกะเพราใส่ลงไปทั้งหมด ทั้งลำต้นและใบ
  3. ปิดฝาหม้อ ใช้ไฟปานกลางค่อนข้างอ่อน ต้มประมาณ 15 – 20 นาที พอน้ำเดือดปุ๊บให้ปิดแก๊สทันที ข้อมูลเพิ่มเติมจากประสบการณ์ของผม หากใช้ไฟอ่อนเกินไป ฤทธิ์ยาในกะเพราจะไม่ออกมา ควรกะปริมาณไฟที่ต้ม ให้น้ำเดือดภายใน 15 – 20 นาที
  4. ดื่มหลังอาหาร 1 แก้ว 250 ml
  5. ถ้าน้ำกะเพราเย็นลง หรือ ดื่มไม่หมด ไม่ต้องอุ่นหรือต้มซ้ำ ให้แช่เย็นไว้ดื่ม เพื่อไว้ดื่มได้หลายๆ วัน
หมายเหตุ
  1. ถ้าใช้กะเพราแดงจะได้ผลดีกว่า
  2. จำไว้ว่า กะเพราเป็นสมุนไพรธาตุร้อน ถ้าดื่มน้ำกะเพราไปแล้วเกิดอาการร้อนใน ให้ลดปริมาณน้ำกะเพราลง
  3. อาการหนักประมาณ 6 – 8 แก้ว และหลังจากวันแรกที่ดื่ม ถ้าอาการทุเลาให้ลดปริมาณน้ำกะเพราลง ดื่มเฉพาะหลังอาหาร มื้อละ 1 – 2 แก้ว แต่ไม่ควรเกิน 4 แก้วต่อวัน
  4. ยาสมุนไพรไทย ใช้เวลารักษานานถึงจะหาย ต้องกินเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องทานยาเคมีสังเคราะห์เข้าช่วยเลย
ที่มา : ฐานข้อมูลเครื่องยาไทยอีสาน คณะ เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


5.ต้นกันจ้ำขาว

ก้นจ้ำ

ก้นจ้ำ ชื่อสามัญ Spanish Needles[1]

ก้นจ้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Bidens biternata (Lour.) Merr. & Scherff. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1]
สมุนไพรก้นจ้ำ มีชื่อเรียกอื่นว่า ชื่อเจินเฉ่า จิงผานอิ๋งจ่านเฉ่า (จีนกลาง), บ่ะดี่ (ลั้วะ), หญ้าก้นจ้ำ ส่วนนครราชสีมาเรียก “ก้นจ้ำ[1],[3],[5]

ลักษณะของก้นจ้ำ

  • ต้นก้นจ้ำ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุได้ปีเดียว ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่ง มีความสูงได้ประมาณ 0.3-1.5 เมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม ตามลำต้นและกิ่งก้านสาขามีขนขึ้นประปราย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของทวีปอเมริกา มีเขตการกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักขึ้นเป็นวัชพืชตามไร่และสวน ตามข้างถนน และที่แห้งแล้งทั่วไป[1],[4]
  • ใบก้นจ้ำ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงตรงข้าม มีใบย่อย 3-5 ใบ บางใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ก้านใบประกอบยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบคล้ายลิ่มหรือสอบเข้าหากัน ส่วนขอบใบหยักย่อยคล้ายฟันปลา ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.3-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-6.5 เซนติเมตร แผ่นใบทั้งสองด้านเกลี้ยงหรือมีขนขึ้นประปราย ก้านใบยาวได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร[1],[4]
  • ดอกก้นจ้ำ ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่น ช่อเดียว ช่อแยกแขนง หรือช่อเชิงหลั่น แต่ละช่อจะมีวงใบประดับ 8-10 อัน ลักษณะเป็นรูปแถบปลายแหลม ยาวประมาณ 3-7 มิลลิเมตร ดอกวงนอกเป็นรูปลิ้น ไม่สมบูรณ์เพศ มีประมาณ 1-5 ดอก หรือไม่มี กลีบดอกเป็นสีเหลืองหรือสีขาว ปลายกลีบจัก 2-3 จัก ส่วนดอกวงในจะมีหลายดอก เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเป็นสีเหลือง โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็นจักแหลม 4-5 จัก มีขนาดกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ 5 อัน มีรังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ออกดอกในช่วงประมาณเดือนตุลาคม[4]
  • รูปก้นจ้ำ
    • ผลก้นจ้ำ ผลมีลักษณะยาวแคบ สีน้ำตาลเข้ม มีความยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร ติดบนฐานดอกเป็นกระจุกหัวแหลม ท้ายแหลม มีสัน และมีร่องตามยาว ผลมีรยางค์แข็ง 2-4 อัน ติดอยู่ที่ปลาย ผิวนอกผลจะมีขนสั้นๆ เมื่อแก่แห้งจะไม่แตก เมล็ดมีขนาดเล็กออกเป็นเส้น ๆ มีสีดำ[1],[2],[3],[4]
    ผลก้นจ้ำ
    หมายเหตุ : ยังสามารถพบก้นจ้ำได้อีก 2 ชนิด คือ ชนิด Bidens pilosa L. หรือที่เรียกว่า “ปืนนกไส้” ใบจะใหญ่กว่าและเป็นใบประกอบ 3 ใบ และชนิด Bidens bipinnata L. หรือที่เราเรียกว่า “ดาวกระจาย[3]

    สรรพคุณของก้นจ้ำ

    1. ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำมาใช้ล้างตา เป็นยาแก้โรคตามัว (ใบ)[1],[3]
    2. ตำรายาแก้คออักเสบ เจ็บคอ จะใช้ใบก้นจ้ำสด ๆ ประมาณ 30-50 กรัม นำมาตำแล้วคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำผึ้งและเกลือเล็กน้อย ใช้รับประทาน (ใบ)[3]
    3. ทั้งต้นใช้ผสมกับสมุนไพรอื่น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หวัดคัดจมูก หรือใช้อาบแก้ไข้ (ทั้งต้น)[2] บ้างใช้ก้นจ้ำแห้งประมาณ 10-15 กรัม เข้ากับตำรายาแก้หวัดทั่วไป ต้มรับประทานเป็นยาแก้หวัดตัวร้อน (ทั้งต้น)[3]
    4. ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ทั้งต้นนำมาผสมต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอมีน้ำมูกข้น (ทั้งต้น)[2]
    5. ใช้เป็นยาแก้ลำไส้อักเสบ ปวดท้องน้อย ด้วยการใช้ทั้งต้นประมาณ 30-50 กรัม นำมาต้มเอาน้ำรับประทาน (ทั้งต้น)[3]
    6. ใบสดใช้ตำพอกรักษาแผลสด แผลน้ำร้อนลวก หรือแผลไฟไหม้ (ใบ)[1],[3]
    7. ใบสดนำมาคั้นหรือต้ม แล้วนำน้ำมาล้างผิวหนัง จะช่วยแก้ผดผื่นคันได้ (ใบ)[3]
    8. หากถูกงูกัดหรือแมลงสัตว์กัดต่อย ให้ใช้ใบสดประมาณ 50-100 กรัม นำมาตำแล้วเอาน้ำล้างหรือใช้พอกบริเวณที่เป็นแผล (ใบ)[3]
    9. ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม [3] กรณีต้มกับน้ำรับประทาน ต้นสดให้ใช้ครั้งละ 50-100 กรัม ส่วนต้นแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-30 กรัม กรณีใช้ภายนอกให้ใช้ได้ตามความต้องการ[3]

      ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของก้นจ้ำ

      • สารที่พบ ได้แก่ Anthraquinone Glycoside, Phytosterin-B[3]
      • สารที่สกัดจากน้ำต้มของก้นจ้ำหรือสกัดจากแอลกอฮอล์ พบว่า มีฤทธิ์ยับยั้งโรคที่ติดเชื้อในลำไส้ หรือนำต้นสดทั้งต้นมาคั้นเอาน้ำ พบว่าจะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อ Btaphylococcus ของลำไส้ใหญ่ได้ แต่จะไม่มีผลต่อเชื้อ Gram ในลำไส้ใหญ่[3]

      ประโยชน์ของก้นจ้ำ

      • ชาวลั้วะจะใช้ยอดอ่อนนำมารับประทานกับน้ำพริก[5]



เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “ก้นจ้ำ”.  หน้า 2-3.
  2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “ก้นจ้ำ”.  หน้า 46.
  3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “ก้นจ้ำ”.  หน้า 18.
  4. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “กรดน้ำ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/.  [10 ก.ค. 2015].
  5. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “ก้นจ้ำ, หญ้าก้นจ้ำ”.  อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th.  [10 ก.ค. 2015].

ไม่มีความคิดเห็น:

โพสต์เด่น

บทความนิยม