สาระน่ารู้ "น้อยหน่าครั่ง" รวมวิตามินและแร่ธาตุ


น้อยหน่าครั่ง : ผลไม้กลายพันธุ์



ความนำ
ได้รับคำถามอยู่เสมอว่า
1. น้อยหน่าครั่ง มันมีมาได้อย่างไร
2. “น้อยหน่าครั่ง” กินได้ไหม อร่อยไหม
3. “น้อยหน่าครั่ง” อยากปลูกบ้าง ปลูกยากไหม มีต้นพันธุ์ขายที่ไหน
4. “น้อยหน่าครั่ง” มีคุณสมบัติพิเศษอย่างไรหรือไม่
จากคำถามเหล่านี้จึงนำมาสู่การเขียนบทความทางวิชาการเรื่องนี้

น้อยหน่าครั่ง
สรุปประเด็นสำคัญของน้อยหน่าครั่งเป็นข้อๆ ดังนี้
1. น้อยหน่าครั่ง เป็นน้อยหน่าชนิดเดิมที่มีสีเขียวที่คุ้นเคยกัน เพียงแต่เปลือกผลเป็นสีม่วงเข้ม
2. น้อยหน่าครั่ง เกิดจากการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติของน้อยหน่าพันธุ์เดิมที่มีสีเขียว ซึ่งปลูกด้วยเมล็ด ไม่ได้เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์ของมนุษย์แต่อย่างใด
3. น้อยหน่าครั่ง อาจมีจำนวนผลบนต้นมากน้อยไม่แน่นอนในแต่ละปี เพราะว่ามีน้อยหน่าทั้ง2แบบปนกันอยู่บนต้นเดียวกัน สัดส่วนของทั้ง2ชนิดไม่แน่นอน ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่าการกลายพันธุ์แบบนี้เป็นแบบไม่ถาวร หมายความว่าน้อยหน่าครั่งอาจกลับกลายมาเป็นชนิดเขียวแบบเดิมได้อีก ซึ่งลักษณะแบบนี้พบเห็นในพืชหลายชนิด เช่น ไทรด่าง สาคูด่าง
4. น้อยหน่าครั่ง มีทั้งชนิด “เนื้อ” และ “หนัง” รสชาติเหมือนน้อยหน่าชนิดเดิมทุกประการ
5. น้อยหน่าครั่ง มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น “น้อยหน่าสีม่วง”  น้อยหน่าสีแดง”
6. น้อยหน่าครั่ง มีเนื้อสีขาวเช่นเดิม เพียงแต่ส่วนที่อยู่ติดเปลือกอาจมีสีชมพูหรือม่วงปนอยู่
7. เปลือกผลของน้อยหน่าครั่ง มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) เป็นรงควัตถุที่พบในพืชทั้งในดอกและในผลของพืช ที่มีสีแดง น้ำเงิน หรือม่วง เป็นสารที่ละลายในน้ำได้ดี มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ยับยั้งการเกิดออกซิเดชันของลิโปโปรตีน และการตกตะกอนของเกล็ดเลือด ทำให้แอนโทไซยานินมีบทบาทในการป้องการการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง เบาหวาน จากเหตุผลนี้ทำให้เมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมาผู้บริโภคนิยมบริโภคผักผลไม้ที่มีสีม่วง ทำให้หลายสวนหันมานิยมปลูกน้อยหน่าครั่ง แต่ก็ชั่วระยะเวลาสั้นๆผู้บริโภคก็ลืมเรื่องแอนโทไชยานิน เมื่อได้เวลาน้อยหน่าครั่งออกผลผลิตมามากก็ขายได้ยาก อีกทั้งผู้บริโภคเพิ่งมาทราบภายหลังว่าเนื้อของน้อยหน่าครั่งไม่ได้เป็นสีครั่งหรือสีม่วงเข้มเหมือนเปลือกของมัน แล้วเปลือกมันก็กินไม่ได้
8. น้อยหน่าครั่ง อยู่ในวงศ์เดียวกันกับน้อยหน่าชนิดเดิม และมีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกันทุกประการ คือ   วงศ์ ANNONACEAE  และชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Annona squamosa Linn.
9.น้อยหน่าครั่งมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับต้นน้อยหน่าทั่วไปทุกประการบ่อยครั้งที่น้อยหน่าครั่งเกิดอยู่บนต้นเดียวกันกับน้อยหน่าพันธุ์เดิมโดยที่เจ้าของไม่ทราบ
10. การปลูกน้อยหน่าครั่ง” ก็เหมือนการปลูกน้อยหน่าชนิดเดิม เติบโตได้ในดินร่วนปนทราย ทนแล้งได้ดี ชอบแดดจัด ชอบที่ดอน น้ำไม่ท่วมขัง  ใช้ปุ๋ยตามอัตราที่เหมาะสม ต้องการการตัดแต่งอย่างหนัก(heavy pruning) เพื่อกระตุ้นการออกดอกติดผล ป้องกันกำจัดศัตรูของผลอย่างพิถีพิถัน มิฉะนั้นจะไม่ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
11. หากต้องการซื้อต้นกล้าของ “น้อยหน่าครั่ง”ไปปลูก ก็ค้นหาแหล่งจำหน่ายในอินเตอร์เน็ตได้เลย  หรือทำได้ง่ายๆด้วยการซื้อน้อยหน่าครั่งมารับประทาน แล้วนำเมล็ดไปเพาะกล้าเอง จะประหยัดเงินได้มาก
………………………………………

Cr. ข้อมูลจากเวป bsru.ac.th



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




สรรพคุณและประโยชน์

ทั้งหมดของน้อยหน่า



น้อยหน่า
น้อยหน่า

คุณค่าทางโภชนาการของน้อยหน่าต่อ 100 กรัม


  • วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม 4%
  • วิตามินซี 36.3 มิลลิกรัม 44%
  • ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม 5%
  • ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุแมงกานีส 0.42 มิลลิกรัม 20%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 32 มิลลิกรัม 5%
  • ธาตุโพแทสเซียม 247 มิลลิกรัม 5%
  • ธาตุโซเดียม 9 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม 1%
  • พลังงาน 94 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 23.64 กรัม
  • เส้นใย 4.4 กรัม
  • ไขมัน 0.29 กรัม
  • โปรตีน 2.06 กรัม
  • วิตามินบี 1 0.11 มิลลิกรัม 10%
  • วิตามินบี 2 0.113 มิลลิกรัม 9%
  • วิตามินบี 3 0.883 มิลลิกรัม 6%
  • วิตามินบี 5 0.226 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 6 0.2 มิลลิกรัม 15%

น้อยหน่า
น้อยหน่า


ไม่มีความคิดเห็น:

โพสต์เด่น

บทความนิยม